ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง
- by admin
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง เหตุได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ตลาดจับตาดูการประชุม G 20 ที่จะเป็นการพบกันระหว่าง โจ ไบเดน กับ สี จิ้นผิง
ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (14/11) ที่ะดับ 35.90/92 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (11/11) ที่ระดับ 36.00/02 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 54.7 ในเดือน พ.ย. จากระดับ 59.9 ในเดือน ต.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 59.5
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 5.1% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า โดยสูงกว่าระดับ 5.0% ที่มีการสำรวจในเดือนที่แล้ว สำหรับในช่วง 5 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 3.0% โดยสูงกว่าระดับ 2.9% ที่มีการสำรวจในเดือนที่แล้ว
นอกจากนี้ ตลาดยังจับตาดูการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน นอกรอบการประชุมสุดยอด G20 ในประเทศอินโดนีเซียในวันนี้ การพบปะกันของสองผู้นำถือเป็นครั้งแรก โดยนับตั้งแต่ที่ ปธน.ไบเดนเข้ารับตำแหน่ง ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจก็ย่ำแย่ลงเนื่องจากการแข่ขันทางเศรษฐกิจ ปัญหาสิทธิมนุษยชน และความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนกับไต้หวัน
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาการแข็งค่าของเงินภูมิภาคสะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนเลขเด็ด อาจารย์ดัง เข้าทุกงวดที่ปรับดีขึ้น จากการคาดการณ์แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าอาจผ่อนคลายความเข้มงวดลงได้บ้าง โดยเฉพาะหลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอลงมากกว่าคาด รวมถึงเริ่มเห็นสัญญาณการผ่อนคลายมาตรการ Zero Covid-19 จากทางการจีนส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ.ปรับอ่อนค่าลงกว่า 3% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
ขณะที่เงินบาทปรับแข็งค่าสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของสกุลเงินภูมิภาค โดยปรับแข็งค่าขึ้นจากสิ้นเดือนตุลาคมประมาณ 5% โดยในเดือนพฤศจิกายนนี้ นักลงทุนต่างชาติมีฐานะเป็นซื้อสุทธิในหลักทรัพย์ไทยประมาณ 1.07 แสนล้านบาท โดยเป็นการซื้อสุทธิในตลาดหุ้นประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท และซื้อสิทธิในตลาดพันธบัตรประมาณ 8.9 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ความผันผวนในตลาดการเงินยังมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับสูงในระยะถัดไป ภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอัตราแลกปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 35.73-35.98 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 35.88/90 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (14/1) ที่ระดับ 1.0329/31 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (11/11) ที่ระดับ 1.0257/59 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรแข็งค่าจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดยังคงวิตกเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ หลังสำนักงานสถิติแห่งเยอรมนี (FSO) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนี ซึ่งได้รับการปรับค่าเพื่อให้สามารถเทียบเคียงกับดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย (HICP) ของสหภาพยุโรป (EU) เพิ่มขึ้นแตะ 11.6% ในเดือน ต.ค. เมื่อเทียบรายปี ส่วนดัชนี CPI ที่ไม่ได้รับการปรับค่านั้นอยู่ที่ 10.4%
นอกจากนี้ ค่าเงินยูโรยังคงได้รับแรงสนับสนุน หลังกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มซบเซามากกว่าที่ IMF คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อพิจารณาจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และวิกฤตพลังงานที่เลวร้ายลงในยุโรปจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ โดยเงินเฟ้อที่สูงเป็นเวลานานอาจกระตุ้นให้ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0298-1.0350 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0315/19 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (14/11) ที่ระดับ 139.57/59 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าลงจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (14/11) ที่ระดับ 140.51/53 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนอ่อนค่าตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 138.80-140.37 เยนดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 140.34/37 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ตัวเลขเศรษฐกิจ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรมยูโรโซนเดือน ก.ย. (14/11), ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ต.ค. สหรัฐ (15/11), ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน พ.ย. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (16/11), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (17/11), ดัชนีการผลิตเดือน พ.ย. จากเฟดฟิลาเดลเฟีย (17/11), ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือน ต.ค. จาก Conference Board (18/11)
สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -8/-7.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -16.5/-14 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง เหตุได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ตลาดจับตาดูการประชุม G 20 ที่จะเป็นการพบกันระหว่าง โจ ไบเดน กับ สี จิ้นผิง ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (14/11) ที่ะดับ 35.90/92 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (11/11) ที่ระดับ 36.00/02 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 54.7 ในเดือน พ.ย. จากระดับ 59.9 ในเดือน ต.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 59.5 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และการดีดตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ 5.1% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า โดยสูงกว่าระดับ 5.0% ที่มีการสำรวจในเดือนที่แล้ว สำหรับในช่วง 5 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะแตะระดับ…